นศ.ฝึกประสบการณ์ คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากโครงการประกวดการนำเสนองานวิจัย

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 23 เมษายน 2568
โดย : โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ระดับมัธยมศึกษา)
ผู้เข้าชม : 52 คน
นศ.ฝึกประสบการณ์ คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากโครงการประกวดการนำเสนองานวิจัย

ขอแสดงความยินดีกับ นายเมธาสิทธิ์ ทองดี บัณฑิตสาขาวิชาศิลปศึกษา (รหัส 64) นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่สามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากโครงการประกวดการนำเสนองานวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาครู (ครั้งที่ 8) ประจำปี 2568 จัดโดย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568

โดยผลงานวิจัยของบัณฑิตได้รับการพิจารณาผ่านเข้ารอบแรกและให้นำเสนอเพื่อตัดสินรอบสุดท้ายในรูปแบบโปสเตอร์ ภายใต้หัวข้อวิจัย “การพัฒนาเว็บไซต์การเรียนรู้ “บันไดนาคตามฮอยลวดลายล้านนา”เพื่อส่งเสริมทักษะการออกแบบลวดลายล้านนา สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่“ โดยมี อาจารย์รวิธ รัตนไพศาลกิจ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิจัย

 

ทักษะที่นักศึกษาได้รับจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่มีความสอดคล้องกับสมรรถนะขั้นสูง (ADRIC)
ที่กําหนดไว้ตามวิสัยทัศน์ของคณะศึกษาศาสตร์

           เนื่องจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ใช้แนวทางสมรรถนะขั้นสูง (ADRIC) โดยเน้นการใช้นวัตกรรมในการเรียนการสอน จากการฝึกสอนตลอดภาคเรียนที่ 2 พบว่า แม้นักเรียน จะมีพื้นฐานด้านการออกแบบ ไม่ว่าจะการออกแบบเบื้องต้น โปสเตอร์ ตัวละคร และโลโก้ แต่ยังขาด ประสบการณ์การออกแบบในเชิงลึก และการออกแบบลวดลายผ้า และผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ศิลปะล้านนาในห้องเรียนยังเน้นทฤษฎี ทําให้นักเรียนขาดความเข้าใจ ทักษะการออกแบบที่ลึกขั้น และการเห็นคุณค่าทางวัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้ จึงได้จัดทํางานวิจัยในชั้นเรียน ที่มีชื่อว่า การพัฒนาเว็บไซต์ความรู้ “บันไดนาคตามฮอยลวดลายล้านนา” เพื่อส่งเสริมทักษะการออกแบบ ลวดลายล้านนา สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการบูรณาการกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และ Problem-Based Learning (PBL) เพื่อสร้างสื่อการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียน สามารถเข้าถึง และพัฒนาทักษะการออกแบบลวดลายล้านนาได้ง่ายขึ้น เป็นการบูรณาการเทคโนโลยี กับศิลปวัฒนธรรมล้านนา และสะท้อนถึงแนวทางของโรงเรียนที่มุ่งเน้นการใช้นวัตกรรม 

จากสมรรถนะชั้นสูง (ADRIC) เป็นแนวทางที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาครูให้มีความสามารถรอบด้าน โดยมีองค์ประกอบหลัก 5 ด้าน ได้แก่ Actively Design Phenomenon Learning (A), Digital Literacy & A Literacy (D), 

Resilience (R), Innovative skill (I) และ Thai Citizen with Global Perspective (C) ซึ่งสอดคล้อง กับงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาเว็บไซต์ความรู้ “บันไดนาคตามฮอยลวดลายล้านนา” ที่มุ่งเน้น การใช้นวัตกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการออกแบบลวดลายล้านนา ตามตารางดังนี้